เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 1.เมตตาวรรค 8.อุตตรวิปัตติสูตร
8. เทวทัตถูกความมีมิตรชั่วครอบงำย่ำยีจิต ต้องไปเกิดในอบาย ต้อง
ไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
ภิกษุทั้งหลาย เทวทัตถูกอสัทธรรม 8 ประการนี้แล ครอบงำย่ำยีจิต ต้องไป
เกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ดี ภิกษุพึงครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่ ทางที่ดี ภิกษุพึง
ครอบงำความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นอยู่ ... ยศที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้น ...
สักการะที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้น ... ความปรารถนาชั่วที่เกิดขึ้น ...
ความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร จึงพึงครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่
... พึงครอบงำความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเมื่อภิกษุไม่ครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่ อาสวะและความ
เร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นพึงเกิดขึ้น แต่เมื่อเธอครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่ อาสวะ
และความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นย่อมไม่มีแก่เธอ
เพราะเมื่อภิกษุไม่ครอบงำความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นอยู่ ... ยศที่เกิดขึ้น ... ความ
เสื่อมยศที่เกิดขึ้น ... สักการะที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้น ... ความ
ปรารถนาชั่วที่เกิดขึ้น ... ความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อ
ความคับแค้นพึงเกิดขึ้น แต่เมื่อเธอครอบงำความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่ อาสวะและ
ความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นย่อมไม่มีแก่เธอ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล จึงพึงครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่
... ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้น ... ยศที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้น ... สักการะที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :212 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 1.เมตตาวรรค 9.นันทสูตร
เกิดขึ้น ... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้น ... ความปรารถนาชั่วที่เกิดขึ้น ... ความมี
มิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
จักครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่ ... ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้น ... ยศที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อม
ยศที่เกิดขึ้น ... สักการะที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้น ... ความปรารถนา
ชั่วที่เกิดขึ้น ... ความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงสำเหนียก
อย่างนี้แล’
ท่านอุตตระผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ในหมู่มนุษย์ บริษัท 4 คือ ภิกษุ
ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ธรรมบรรยาย1นี้หาได้ตั้งมั่นอยู่ในบริษัทหมู่ไหนไม่
ขอท่านอุตตระโปรดเรียนธรรมบรรยายนี้ โปรดจดจำธรรมบรรยายนี้ โปรดทรง
จำธรรมบรรยายนี้ไว้เถิด เพราะธรรมบรรยายนี้ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้น
แห่งพรหมจรรย์2”
อุตตรวิปัตติสูตรที่ 8 จบ

9. นันทสูตร
ว่าด้วยพระนันทะ
[9] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อจะเรียกนันทะให้ถูกต้อง ควรเรียกว่า ‘กุลบุตร’
เมื่อจะเรียกนันทะให้ถูกต้อง ควรเรียกว่า ‘ผู้มีกำลัง’ เมื่อจะเรียกนันทะให้ถูกต้อง
ควรเรียกว่า ‘ผู้น่ารัก‘3 เมื่อจะเรียกนันทะให้ถูกต้อง ควรเรียกว่า ‘ผู้มีราคะจัด‘4

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 1 สัตตกนิบาต ข้อ 51 หน้า 85 ในเล่มนี้
2 เบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงพรหมจรรย์ทั้งสิ้นที่รวมลงในสิกขา 3 (ศีล สมาธิ ปัญญา)
(องฺ.อฏฺฐก.อ.3/8/ 216)
3 ผู้น่ารัก ในที่นี้หมายถึงผู้ถึงพร้อมด้วยรูปสมบัติ (องฺ.อฏฺฐก.อ.3/9/216)
4 ผู้มีราคะจัด ในที่นี้หมายถึงมีราคะมาก (องฺ.อฏฺฐก.อ.3/9/216)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :213 }